ในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า เครื่องหมายการค้า หรืออาจจะเข้าใจโดยทั่วไปๆว่า แบรนด์ ยี่ห้อ หรือ โลโก้ ซึ่งสิ่งเล่านี้มีอิทธิต่อการจดจำของสาธารณะ ซึ่งทำให้สาธาณะชนแยกแยะสินค้าอย่างนึงภายใต้เครื่องหมายการค้านึงกับสินค้าอีกอย่างนึงภายใต้อีกเครื่องหมายการค้าอื่นออกจากกันได้ เช่น เวลาเรานึกถึงรองเท้ากีฬา NIKE และ Adidas นั้น เราสามารถแยกแยะสินค้าภายใต้ทั้งสองแบรนด์ได้อย่างชัดเจนแม้จะขายสินค้าอย่างเดียวกัน

เครื่องหมาย-nike

ที่มา : medium.com

เห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้า ไม่ได้เพียงมีหน้าที่ลดความสับสนของสาธารณะชน แต่ยังเป็นตัวช่วยส่งเสริมการขายและ สร้าง goodwill ให้กับธุรกิจของเจ้าของเครื่องหมายนั้นๆ ดังนั้นเจ้าของเครื่องหมายส่วนใหญ่จึงเห็นถึงคุณค่าของเครื่องหมายการค้าของตน และนำเครื่องหมายการค้าไปจดทะเบียนกับกรมทรัพทย์ทางปัญญา เพื่อรองรับสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Rights)

กล่าวคือ เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว สามารถใช้เครื่องหมายของตนได้อย่างไม่จำกัดกับสินค้าของตนที่ได้จดทะเบียนไว้ จะให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายดังกล่าว (licensing) หรือ โอนเครื่องหมายการค้าให้ผู้อื่น (transferring of trademark ownership) ก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินคดีในกรณีมีบุคคลภายนอกละเมิดเครื่องหมาย (litigation) ดังกล่าวอีกด้วย

สารบัญ

กรณีเกิดการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว

ละเมิดเครื่องหมาย

เจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คือ ผู้ทรงสิทธิ ที่ได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 สามารถฟ้องละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อผู้ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ รวมถึงกรณีลวงขาย (Passing off) กล่าวคือ การที่บุคคลภายนอกทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกว่าสินค้าของตนมีความเกี่ยวข้องหรือเข้าใจว่าเป็นสินค้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายทางการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสามารถฟ้องการลวงขายดังกล่าวภายใต้ มาตรา 46 พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ได้ นอกจากนี้สามารเพิกถอน หรือ คัดค้าน ต่อเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้าย ที่ทำให้กระทบสิทธิของตน โดยสามารถแสดงหลักฐานว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และดำเนินการคัดค้านหรือเพิกถอนการจดทะเบียน ตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า 2534 อีกทั้งสามารถฟ้องในความผิดเกี่ยวกับการค้า มาตรา 272-274 ประมวลกฎหมายอาญา

“เครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน” จะทำอย่างไร? เมื่อเกิดการละเมิด

เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่สามารถยันสิทธิต่อบุคคลภายนอกได้ เนื่องจากตนไม่ได้ยื่นของรับรองสิทธิในเครื่องหมายการค้า ตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า 2534 อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้การคุ้มครองเฉพาะผู้ที่ยื่นจดก่อน (first to file rule) เท่านั้น แม้เจ้าของเครื่องการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสามารถใช้สิทธิสู้คดีในการเพิกถอนหรือคัดค้านการจดทะเบียนของเครื่องหมายการค้าที่เหมือนคล้ายกับตนเนื่องจากตนได้ใช้มาก่อนโดยสุจริต แต่การพิสูจน์นั้นทำได้ยากและใช้เวลานาน อย่างไรก็ตามเจ้าเครื่องหมายที่ไม่ได้จดทะเบียนอาจสามารถฟ้องในกรณีลวงขายภายใต้ มาตรา 46 วรรค 2 ได้ ซึ่งสามารถฟ้องกรละเมิดตาม ประมวลกฎหมายพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งเจ้าเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำละเมิด

อย่างไรก็ตามสิทธิดีกว่าย่อมถูกรับรองต่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนั้นสามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัดในสิทธิของตนต่อเครื่องหมายการค้านั้น การต่อสู้ในสิทธิต่อบุคคลภายนอก คัดค้าน หรือเพิกถอน การจดทะเบียนของเครื่องหมายการค้าใดๆที่ทำให้เกิดความเสียหายการประโยชน์ของตน รวมถึงการฟ้องร้องในกรณีละเมิดต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อรับรองสิทธิ เพราะไม่เพียงแต่เพื่อสิทธิทางกฎหมาย แต่เครื่องหมายการค้าคือทรัพย์สินประเภทนึงที่มีมูลค่าที่สามารถสร้างผลตอบแทนในอนาคตได้

สรุป

โลโก้ คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์ สามารถสร้างให้ผู้บริโภค รับรู้ จดจำและจำแนกความแตกต่างของแบรนด์ได้ ซึ่งโลโก้ มีลักษณะที่อาจจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้ หรือจดไม่ได้ หรือเจ้าของแบรนด์ไม่ได้ทำการจดเครื่องหมายการค้า

อย่างไรก็ดี หากมีผู้กระทำละเมิดเครื่องหมายการค้าของแบรนด์เรา นั่นย่อมส่งผลกระทบต่อยอดขาย ภาพลักษณ์และอื่นๆอีกมากมาย เราในฐานะเจ้าของแบรนด์หากได้ทำการจดเครื่องหมายการค้าไว้ ก็จะมีเครื่องมือในการปกป้องแบรนด์ได้ตามกฏหมาย หากแต่หากไม่ได้ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ การจะปกป้องสิทธิ์ในโลโก้นั้นจะทำได้ยากและซับซ้อนมากกว่า ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท เจ้าของแบรนด์จึงควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ครอบคลุมโลโก้และแบรนด์ของเราให้ได้มากที่สุด

ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์

ปรึกษาฟรี การจดเครื่องหมายการค้า

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

อ่านเพิ่มเติม

1. ตราสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหรือไม่ ?, เที่ยงธรรม พลโลก (https://bit.ly/3mnpyYk)

2. ข้อสังเกตจากคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, ธัชพันธ์ ประพุทฑนิติสาร, วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, issue 2007 (https://bit.ly/3Q4mP3K)