อินฟูเลนเซอร์ (Influencer) และคอนเท้นครีเอเตอร์ (Content Creator) ทำงานหนักเป็นอย่างมากในการสร้างชื่อเสียงให้กับสินค้า รวมไปถึงแบรนด์และอุตสาหกรรมต่างๆ เป็น อย่างมาก ซึ่งอุตสาหกรรมอินฟูเลนเซอร์คาดว่าจะมีมูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 และมีสัดส่วน 15 เปอร์เซ็นต์ ของค่าโฆษณาทั่วโลก ซึ่งในการสร้างคอนเท้น และแบรนด์ต่าง ๆ อินฟูเลนเซอร์ จะปกป้อง ลิขสิทธิ์ หรืองานทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ได้อย่างไร?
ในขณะที่ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ของอินฟูเลนเซอร์ส่วนใหญ่จะทำความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ในฐานะงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ก็มีบางอย่างที่ถ้าเราไม่จดทะเบียน ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง และนี่คือเหตุผลว่าจะทำไมควรมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ที่เป็นอินฟูเลนเซอร์
- คุณสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ถ้ามีคนมาละเมิดในส่วนของ ลิขสิทธิ์ และ เครื่องหมายการค้า ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้แล้ว
- ช่วยลดความเสี่ยงจะโดนขโมยผลงานสร้างสรรค์และเครื่องหมายของคุณ
- การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ช่วยทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่จดจำ
- การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สามารถคุ้มครองผู้คนอื่นไม่ให้ใช้ชื่อหรือโลโก้ของคุณ เพื่อป้องกันผู้บริโภคสับสนในแบรนด์ได้
- การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ง่ายต่อการกำจัดเนื้อหาที่ละเมิดออกทางสื่อโซเชี่ยลมีเดีย
ซึ่งในบทความนี้เราจะยกกรณีตัวอย่างของทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกสร้างสรรค์โดยอินฟูเลนเซอร์ และ ให้คำแนะนำสำหรับการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า และ ลิขสิทธิ์ รวมไปถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเคารพสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และ การปฏิบัติตามนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาของแพลตฟอร์มโซเชียลแต่ละแห่ง
ทรัพย์สินทางปัญญาทั่วไปที่อินฟูเลนเซอร์และครีเอเตอร์เป็นเจ้าของ
อินฟูเลนเซอร์สามารถสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้หลากหลายแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องหมายการค้า และ ลิขสิทธิ์ จะเป็นไปได้มากที่สุด โดยอาจสามารถสร้างสรรค์ผลงานเป็น ชื่อเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะ , โลโก้, แฮชแท็ก หรือนามแฝง เช่น ชื่อของตัวเอง ได้แก่ Taylor Swift, Rihanna, Victoria Beckham เป็นต้น
ในส่วนของงานลิขสิทธิ์ อาจสามารถคุ้มครองงาน วิดีโอ รูปภาพ งานเขียน งานศิลปะ และ เสียงบันทึก นอกจากนั้นคุณยังสามารถคุ้มครองงานรูปวาด วิดีโอ รวมไปถึง ท่าเต้น สโลแกนและ วลีติดปาก
โดยเมื่อปกป้องอย่างครอบคลุมแล้ว งานลิขสิทธิ์จะปกป้องเนื้อหาที่สร้างสรรค์จากการถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และเครื่องหมายการค้าจะป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้แบรนด์ของคุณเพื่อทำให้ผู้ติดตามของคุณเข้าใจผิด โดยการคุ้มครองทั้งสองรูปแบบนี้จะทำให้คนอื่นไม่สามารถหากินกับคอนเท้นของคุณได้นั่นเอง
เป็น “อินฟูเลนเซอร์” ก็ต้องเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
ถ้าคุณต้องการให้คนอื่นเคารพ ขออนุญาติ รวมไปถึงจ่ายเงินให้เพื่อใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้าของคุณ คุณต้องระวัง และให้เกียรติในการคุ้มครองของสิทธิ์ของคนอื่นเช่นกัน ถ้าคุณวางแผนจะใช้งานของคนอื่นที่อยู่ในโลกโซเซี่ยลมาใช้ คุณต้องมั่นใจว่าคุณได้รับการอนุญาติจากเจ้าของผลงานนั้นแล้ว และถ้าคุณต้องการนำแบรนด์รวมไปถึง โปรดักซ์หรือบริการมาเป็นแบบอย่าง คุณต้องทำการขออนุญาติจากเจ้าของแบรนด์นั้น ๆ ก่อนเสมอ
ทั้งนี้ ในแต่ละแฟตฟอร์มบนโซลเซี่ยลมิเดียก็จะมีกฏที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่แตกต่างกัน สรุปถ้าต้องการนำแบรนด์หรือโปรดักซ์มาใช้ในโลกโซลเซี่ยลอย่าลืมขออนุญาติ เช่นสิ่งเหล่านี้
- ชื่อแบรนด์ (brand name)
- โลโก้ (brand logo)
- สินค้าและบริการของแบรนด์นั้น ๆ
- วิดีโอ, รูปภาพ , รูปถ่าย ที่มาจากคนอื่น
- ข้อความ, งานศิลปะ, เสียงบันทึก
- สโลแกน หรือวลีเด็ด จากแบรนด์นั้น ๆ
การปกป้อง ลิขสิทธิ์ งานดิจิทัลบนโซลเชี่ยลมิเดียในอนาคต
ที่ผ่านมามีการหาลือกันเกี่ยวกับผลกระทบของ NFT ต่อทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับอินฟูเลนเซอร์ และคอนเท้นครีเอเตอร์มาอย่างหลากหลาย โดย NFT (Non-fungible tokens) หรือ เหรียญที่ไม่สามารถทำซ้ำได้ที่อยู่ภายใต้เครือข่ายบล็อคเชน (block chain) นั้น อธิบายโดยย่อคือ ทรัพย์สินทางปัญญาอาจสามารถประยุกต์ใช้ได้แค่กับทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) บางประเภท ที่ผลิตทางออนไลน์ เช่นงานศิลปะ วิดิโอ เพลง และกราฟิก รวมไปถึงงานดิจิทัลด้านอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า คอนเท้นครีเอเตอร์ยังคงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ไม่ว่า NFT จะเป็นงานต้นฉบับของตนเอง หรือพวกเขาเลือกที่จะรวมงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างรายอื่น
ตัวอย่างการบังคับใช้ลิขสิทธิ์ NFT เริ่มเป็นกระแสเมื่อ นักร้อง/นักแต่งเพลง Stevie Nicks ถูก Tiktok บล็อคหลังจากใช้เพลง Dreams ของ the Fleetwood ในคลิปไวรัลของเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขายบน NFT สิ่งนี้คือเครื่องเตือนใจว่า ควรประเมินมูลค่าผลงานของคุณเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานของคุณไม่ละเมิดผลงานคนอื่น นอกจากนั้นคุณต้องมั่นใจด้วยว่างานบนโซลเชี่ยลมิเดียของคุณถูกคุ้มครองด้วยกฎหมายของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ซึ่งคนอื่นไม่สามารถขโมยผลงานของคุณไปได้ด้วย
สรุป
ไม่ว่าคุณจะเป็น influencer หรือ content creator การทุ่มเทเวลาและทรัพยากรในการสร้างสรรค์ผลงาน แน่นอนว่าคุณย่อมต้องการสิทธิ์เหนือผลงานที่คุณสร้าง และแน่นอนว่ากฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา สามารถให้ความคุ้มครองผลงานสร้างสรรค์เหล่านั้นได้ แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่งานสร้างสรรค์ทุกประเภทจะสามารถคุ้มครองได้ทันที บางประเภทเช่น เครื่องหมายการค้า จำเป็นต้องจดทะเบียน ดังนั้น การปกป้องผลงานสร้างสรรค์ให้ถูกประเภท จะสามารถช่วยให้คุณสามารถหาประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มเติม
Influencer and Brand – TraverseLegal
NFT&Copyright – Losangelis Magazine