โลกในปัจจุบันจะเรียกว่าเป็นโลกแห่งความบันเทิงก็ว่าได้ ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าแค่ว่าในปัจจุบัน สื่อความบันเทิงไม่ได้ผูกโยงอยู่กับสื่อหลักอย่างโทรทัศน์หรือวิทยุเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่หมายถึงด้วยว่า ในปัจจุบันไม่ว่าใคร ก็สามารถเป็นผู้ผลิตสื่อความบันเทิงในปัจจุบันได้ Steaming Platform จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อพูดถึง Steaming Platform คงจะไม่พูดถึง Youtube ซึ่งเป็นเว็บไซต์ Steaming ยักษ์ใหญ่ไม่ได้ ในการทำสื่อหรือ Content บน Youtube แน่นอนว่าจะต้องทำตามนโยบายที่ได้ว่าเองไว้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ลิขสิทธิ์ Youtube มีความสำคัญมาก ในวันนี้ เราจึงจะมาอธิบายนโยบายต่างๆ ของ Youtube ควบคู่ไปกับแง่มุมทางด้านกฏหมายลิขสิทธิ์ เพื่อที่คุณจะสามารถทำ Content ได้อย่างถูกต้อง
สารบัญ
ลิขสิทธิ์คืออะไร
เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เราอาจจะต้องอธิบายถึงความหมายของงานลิขสิทธิ์เสียก่อน ลิขสิทธิ์อาจเรียก ได้ว่าเป็นหนึ่งในสาขาและความคุ้มครองอย่างหนึ่ง ของกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยมุ่งให้ความคุ้มครองกับสิ่งที่เรียกว่า งานสร้างสรรค์เป็นหลัก เช่น งานวรรณกรรม งานศิลปกรรม หรืองานสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งจะแตกต่างจากการคุ้มครองในเรื่องของสิทธิบัตรซึ่งมุ่งคุ้มครองงานประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องหมายการค้าซึ่งมุ่งคุ้มครองการใช้เครื่องหมายกับสินค้าและบริการ โดยในประเทศไทย การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ ใช้ระบบอัตโนมัติ (Automatic Principle) ทำให้งานสร้างสรรค์ได้รับความคุ้มครองโดยทันทีนับแต่สร้างสรรค์ ซึ่งแน่นอน งานใน Youtube โดยมากเป็นงานลิขสิทธิ์ จำพวกสิ่งบันทึกภาพบันทึกเสียง
นโยบาย ลิขสิทธิ์ Youtube
เนื่องด้วยบทกฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ของสหรัฐอเมริกาอย่าง Digital Millennium Copyright Act หรือที่เรียกกันย่อๆว่า DMCA ได้มีการกำหนดมาตรการแล้วความผิดของผู้ให้บริการ Platform หรือพื้นที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้บริการนั้นๆ แน่นอนว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Youtube ไม่อยากจะมีปัญหา ในเรื่องแบบนี้ จึงได้สร้างมาตรการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ในบางครั้งก็อาจพูดได้ว่าเคร่งครัดยิ่งกว่า ที่กฏหมายกำหนดไว้เสียด้วยซ้ำ โดยเราจะขออธิบายดังนี้
ตามนโยบายของ Youtube ตัว Content Creator ควรจะลงเนื้อหาซึ่งเป็นของตัวเองเท่านั้น ไม่ควรลงเนื้อหาซึ่งเป็น หรือประกอบด้วยงานของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยในกรณีที่ Content Creator เจ้าของงานต้องการทราบว่ามีงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานของพวกเขาหรือเธออยู่ในระบบหรือไม่ สามารถทำการใช้ Content ID เพื่อตรวจสอบเนื้อหาในพื้นที่ให้บริการของ Youtube ว่ามีเนื้อหาใดละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Youtube ได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบเนื้อหา (Monitoring) ด้วยทั้งที่กฏหมายมิได้กำหนดหน้าที่ในส่วนนี้เอาไว้ โดยการใช้งานระบบดังกล่าวเจ้าของงานจะต้องส่งไฟล์งานอันมีลิขสิทธิ์ของตนให้แก่ระบบของ Youtube เพื่อทำการตรวจสอบ
เมื่อเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์พบว่ามีเนื้อหาซึ่งละเมิดงานของตนอยู่ในพื้นที่การให้บริการ การดำเนินการในขั้นตอนถัดไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ อย่างแรกได้แก่การ Copy Claim ซึ่งเป็นระบบการดำเนินการอัตโนมัติหลังจากที่เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ทำการใช้ระบบ Content Creator ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้จะส่งผลเฉพาะเนื้อหาหรือวิดีโอที่มีการตรวจพบว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น โดยเจ้าของช่องซึ่งระบบตรวจสอบละพบว่าได้มีการละเมิด จะไม่สามารถสร้างรายได้จากเนื้อหาที่มีการละเมิดได้ โดยรายได้ที่เกิดขึ้นจากเนื้อหาดังกล่าวจะตกเป็นของเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์แทน นอกจากนี้เจ้าของงานอาจดำเนินการอื่นๆได้ เช่นการวางโฆษณาในเนื้อหาดังกล่าวเป็นต้น ทั้งนี้คุณสามารถยื่นข้อโต้แย้งได้
การดำเนินการในรูปแบบต่อมาเรียกว่า Copy Strick โดยในกรณีนี้จะร้ายแรงมากกว่าการดำเนินการแบบ Copy Claim โดยภายหลังจากที่เจ้าของงานลิขสิทธิ์ได้รับการแจ้งเตือนจากระบบ Content ID เจ้าของงานสามารถเลือกที่จะดำเนินการแจ้ง Copy Strick กับเนิ้อหาที่ละเมิดได้ ซึ่งจะทำให้วิดีโอดังกล่าวถูกลบหรือปิดกันการรับชม นอกจากนี้ การถูก Copy Strick ยังส่งผลเสียอย่างอื่นต่อช่องที่ทำการละเมิดอีกด้วย เช่นการโดน Copy Strick ครั้งแรกส่งผลให้ช่องไม่สามารถสร้างรายได้จากเนื้อหาใดๆได้เลยเป็นเวลา 90 วัน ทั้งนี้เจ้าของช่องสามารถดำเนินการโต้แย้งได้
อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่สามารถมีรูป หรือเนื้อหาซึ่งเป็นของผู้อื่นในเนื้อหาของคุณได้เลย การกระทำเช่นนั้นสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขของหลักการใช้โดยเป็นธรรม หรือที่เรียกกันว่า Fair use ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลักกฏหมายในบ้านเราแล้ว อาจอธิบายง่ายๆได้ว่า จะต้องเป็นการใช้ที่ไม่กระทบกับเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์หรือทางทำมาหาได้จากงานดังกล่าว
การดำเนินการเมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์บนพื้นที่การให้บริการตามกฏหมายไทย
หากเนื้อหาของคุณถูกละเมิดลิขสิทธิ์บนพื้นที่การให้บริการของ Youtube เจ้าของเนื้อหาสามารถใช้ระบบของ Youtube ในการจัดการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แต่หากเนื้อหาของคุณถูกละเมิดบนเว็บไซต์หรือพื้นที่ให้บริการอื่นล่ะ ในกรณีนี้จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 5 ซึ่งสามารถส่งหนังสือบอกกล่าวแจ้งเตือน (Notice) ไปยังผู้ให้บริการพื้นที่ดังกล่าวได้โดยตรง จากแต่เดิมที่จะเป็นการส่งคำร้องไปยังศาล ซึ่งผู้ให้บริการจะถูกบีบให้นำเนื้อหานั้นออกจากระบบ เพื่อแลกกับการไม่ถูกดำเนินการทางกฏหมายในกรณีที่มีการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้หากท่านประสบปัญหาเกี่ยวด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งหนังสือแจ้งเตือน สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษากับทางเราได้ทันที