ในปัจจุบันมีคนนสนใจเขียนนิยายหรือบทความกันมากขึ้น มีแพล็ตฟอร์มที่เปิดให้เหล่านักเขียนทั้งหลายได้ลงผลงานมากมาย อย่างเช่น เด็กดี, Read a Write, Blockdit เป็นต้น ซึ่งแต่ละแพล็ตฟอร์มก็มีข้อดีแตกต่างกันไป บางคนก็อาจจะเขียนหนังสือส่งสำนักพิมพ์ หรือบางคนก็อาจจะเลือกพิมพ์หนังสือขายเองโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ แต่ไม่ว่าจะเขียนงานผ่านทางไหน ก็ควรรู้เรื่อง ลิขสิทธิ์หนังสือ เบื้องต้นไว้ เพื่อประโยชน์ของตัวนักเขียนเอง

ลิขสิทธิ์ จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภท จิตกรรม ประติมากรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ สื่อ เป็นต้น

สารบัญ

เรื่องที่ควรรู้ไว้ ถ้าจะเขียนหนังสือ

ความคุ้มครองเกิดขึ้นทันที แต่ถ้าอยากยื่นจดแจ้งด้วยก็ทำได้

ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน นั่นหมายความว่าต่อให้คุณยังไม่ได้เผยแพร่งานเขียน แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ก็คุ้มครองแล้ว

แม้ผลงานจะได้รับการคุ้มครองทันทีโดยที่ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าหากอยากจดแจ้งด้วยก็ทำได้ โดยสามารถนำผลงานของเราไปแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อแจ้งแล้วทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะออกหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ซึ่งใช้เป็นหลักฐานในการแสดงความเป็นเจ้าของในผลงานนั้นๆ ได้

ระยะเวลาคุ้มครองยาวตลอดชีวิต แต่ก็มีวันหมดอายุ

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานตลอดชีพ และคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีหลังจากผู้สร้างสรรค์ตาย นั่นหมายความว่า หากคุณเขียนนิยายออกมาสักเรื่อง คุณจะเป็นเจ้าของหนังสือเรื่องนั้นไปตลอดชีวิต โดยไม่ต้องไปต่ออายุอะไรให้วุ่นวาย และหลังจากคุณตาย ทายาทของคุณก็จะได้ประโยชน์จาก ลิขสิทธิ์หนังสือ ของคุณต่อไปอีก 50 ปี

เป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์หนังสือ จะเอาไปดัดแปลงหรือให้คนอื่นใช้สิทธิ์ยังไงก็ได้

นักเขียนผู้สร้างสรรค์ผลงานจะมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในผลงานของตน หรือก็คือ คุณจะเอาไปคัดลอก ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณะยังไงก็ได้ จะพิมพ์หนังสือขายเองก็ได้ หรือจะอนุญาตให้คนอื่นใช้สิทธิ์ในงานของเรา อย่างเช่นการให้สำนักพิมพ์นำไปพิมพ์จำหน่ายก็ทำได้

การให้สิทธิ์สำนักพิมพ์ เรื่องสัญญาก็สำคัญ

ถ้าคุณจะให้สิทธิ์สำนักพิมพ์ในการจัดพิมพ์และจำหน่ายงานเขียนของคุณ สิ่งที่ต้องระวังก็คือการทำสัญญา เพราะเราจะได้ประโยชน์จากผลงานของเรามากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ทำกับสำนักพิมพ์

สัญญาจัดพิมพ์หนังสือโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ สัญญาเช่าลิขสิทธิ์ กับ สัญญาซื้อลิขสิทธิ์

  1. สัญญาเช่าลิขสิทธิ์ ก็คือสัญญาที่เราให้สำนักพิมพ์เช่าลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่โดยมีระยะเวลาที่กำหนดให้เช่าลิขสิทธิ์ไว้กี่ปีแล้วแต่จะกำหนด ส่วนค่าตอบแทนก็ตามแต่จะตกลงกันว่าจะจ่ายแบบไหน ซึ่งการเขียนหนังสือส่งสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาแบบนี้ ทำให้เมื่อหมดระยะเวลาที่ให้สำนักพิมพ์เช่า เราสามารถนำผลงานของเรามาพิมพ์ใหม่เพื่อขายเองได้ด้วย
  2. สัญญาซื้อลิขสิทธิ์ เป็นการขายลิขสิทธิ์ขาดให้สำนักพิมพ์ เท่ากับว่าหากเราทำสัญญาขายลิขสิทธิ์ไปแล้วเราก็จะไม่มีสิทธิ์หาประโยชน์จากผลงานนั้นได้อีกต่อไป และ ลิขสิทธิ์หนังสือ นั้นก็จะตกไปอยู่ในมือของสำนักพิมพ์แทน ซึ่งค่าตอบแทนของสัญญาแบบนี้มักเป็นเงินก้อนแบบจ่ายครั้งเดียวจบไปเลย

ตัวอย่างการละเมิด ลิขสิทธิ์หนังสือ

สำนักพิมพ์ผู้พิมพ์การ์ตูนเดธโน้ต ออกจดหมายเตือนผู้ละเมิดลิขสิทธิ์

วันที่ 4 ก.พ. 64 สำนักพิมพ์เนชั่น โกลบอล เอ็ดดูเทนเมนต์ จำกัด ได้โพสต์ลงในเฟสบุ๊คของทางบริษัท โดยใจความสำคัญคือ แจ้งเตือนให้เจ้าของกิจการสำนักพิมพ์ไพเรทแห่งหนึ่งยุติการพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือการ์ตูนเรื่อง เดธโน้ต(DEATH NOTE) และเรื่อง คิชิเบะ โรฮัง ไม่เคลื่อนไหว(THUS SPOKE KISHIBE ROHAN) เนื่องจากหนังสือการ์ตูนทั้งสองเรื่องนั้น ทางบริษัทเนชั่นฯเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในการพิมพ์และจัดจำหน่ายในประเทศไทยเพียงผู้เดียว ซึ่งหากหลังจากนี้ยังมีการกระทำอันละเมิดลิขสิทธิ์อยู่อีก บริษัทเนชั่นฯ จะดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในวงการการ์ตูนไทย ที่ผ่านมากรณีที่คล้ายๆ กันหลายครั้ง อย่างเช่นการนำเนื้อหาในหนังสือไปอัพโหลดลงในกลุ่มลับแล้วเก็บค่าเข้าเป็นสมาชิก หรือการดึงดันที่จะแปลการ์ตูนต่อ ทั้งที่การ์ตูนเรื่องนั้นๆ มีผู้ถือลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว การกระทำเหล่านั้นล้วนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น

เจ้าของลิขสิทธิ์เสียผลประโยชน์อย่างไร

การที่มีสำนักพิมพ์ไพเรทตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่มีสำนักพิมพ์ถือลิขสิทธิ์ในประเทศไทยนั้นทำให้สำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์เสียผลประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากสำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์นั้นมีค่าซื้อลิขสิทธิ์เป็นต้นทุนในการผลิตหนังสือ รวมทั้งมีเงื่อนไขข้อสัญญาต่างๆ กับทางเจ้าของลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่น ทำให้ราคาหนังสือค่อนข้างสูง กลับกัน สำนักพิมพ์ไพเรทนั้นไม่มีต้นทุนเหล่านั้น ราคาหนังสือจึงถูกกว่า ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มเลือกที่จะซื้อของผิดลิขสิทธิ์เพราะถูกกว่า นอกจากนี้ของผิดลิขสิทธิ์ก็อาจทำให้ผู้บริโภคบางคนสับสนจนซื้อผิดได้ ส่งผลให้สำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ไป

แล้วถ้าหากตีพิมพ์เรื่องที่ไม่มีลิขสิทธิ์ในไทยล่ะ?

หลายคนอาจคิดว่าหากตีพิมพ์เรื่องที่ไม่มีลิขสิทธิ์ในไทยหรือเรื่องเก่าๆ ที่ลิขสิทธิ์ขาดไปแล้วคงได้ แต่จริงๆ แล้วการกระทำนั้นก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน เพราะถึงแม้จะไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทย แต่ก็มีลิขสิทธิ์ในประเทศญี่ปุ่น และกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นคุ้มครองทั่วโลก เพียงแต่ในกรณีนี้ทางเจ้าของลิขสิทธิ์อาจไม่เอาเรื่อง หรือเอาเรื่องไม่ได้เนื่องจากความยุ่งยากในการฟ้องร้อง ทำให้เรายังเห็นการละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทนี้อยู่เรื่อยๆ

การที่สำนักพิมพ์ออกมาประกาศเตือนแบบนี้ก็เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของทางสำนักพิมพ์เอง และสำหรับผู้บริโภคแล้ว การสนับสนุนของลิขสิทธิ์ก็คือการสนับสนุนนักเขียน และผลงานที่เราชอบนั่นเอง

สรุป

การเขียนหนังสือสักเล่มนั้นง่ายดายกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ว่าเราจะเผยแพร่ผลงานของเราผ่านทางไหน ก็ควรต้องรู้เรื่อง ลิขสิทธิ์เบื้องต้นเอาไว้ เพราะลิขสิทธิ์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

ลิขสิทธิ์ ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองอัตโนมัติ นับตั้งแต่วันที่สร้างสรรค์ โดยผู้ที่เขียนหนังสือ มีสิทธิ์ในการให้สำนักพิมพ์เช่าลิขสิทธิ์เพื่อนำไปพิมพ์จำหน่าย หรือขายสิทธิ์ขาดให้สำนักพิมพ์เลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงทำสัญญา

Copyright (or author’s right) is a legal term used to describe the rights that creators have over their literary and artistic works. Works covered by copyright range from books, music, paintings, sculpture, and films, to computer programs, databases, advertisements, maps, and technical drawings.

-what is copyright, WIPO

ปรึกษาฟรี การจดแจ้งลิขสิทธิ์

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

เพิ่มเติม