ถ้าพูดถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์ (software) แล้ว เชื่อว่าแทบทุกคนต้องรู้ว่าซอฟต์แวร์นั้นมีลิขสิทธิ์ เนื่องจากการรณรงค์ให้ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วซอฟต์แวร์นั้นก็จัดเป็นงานวรรณกรรม ซึ่งถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง

สารบัญ

ซอฟต์แวร์ เป็นงานวรรณกรรม

พรบ.ลิขสิทธิ์ ฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่าซอฟต์แวร์นั้นอยู่ในประเภทเดียวกันกับวรรณกรรม ซึ่งกฎหมายได้ให้ความคุ้มครอง source code หรือชุดคำสั่งในการเขียนโปรแกรม โดยถือว่าชุดคำสั่งในการเขียนโปรแกรมเป็นงานเขียนชนิดหนึ่ง ทำให้ได้รับความคุ้มครองทันทีโดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน แต่ก็สามารถแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เหมือนกับงานวรรณกรรมประเภทอื่น

และด้วยความที่ซอฟต์แวร์ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ ทำให้มีอายุการคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ และหลังจากผู้สร้างสรรค์ตายไปอีก 50 ปี แต่เมื่อดูจากอายุการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนรุ่นกันอย่างรวดเร็วแล้ว จึงอาจพูดได้ว่าซอฟต์แวร์โดยทั่วไปทั้งหมดล้วนมีลิขสิทธิ์ (เพราะไม่ต้องรอให้หมดอายุความคุ้มครอง ตัวซอฟต์แวร์ก็หมดรุ่นไปแล้ว)

ปัญหาของการคุ้มครองซอฟต์แวร์ด้วยลิขสิทธิ์ (เพียงอย่างเดียว)

ถึงซอฟต์แวร์โดยทั่วไปจะได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองแนวคิด หรือกรอบไอเดียที่นำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน (ถ้านึกไม่ออก ให้นึกถึง Flow chart, Diagram การเชื่อมต่อของโมดูลต่างๆ ภายในโปรแกรม) ทำให้แนวคิดในการทำงานของซอฟต์แวร์ รวมทั้งฟังก์ชั่น/ฟีเจอร์ต่างๆ ไม่ได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน กล่าวคือ ต่อให้จะมีซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชั่นเหมือนกันขนาดไหน แต่หากถ้าชุดคำสั่งหรือ source code ต่างกันก็ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

การจดซอฟแวร์เป็น สิทธิบัตร ในรูปแบบของงานระบบ

ซอฟต์แวร์-สิทธิบัตร

โดยทั่วไปแล้วระบบการทำงานที่เป็นกรอบแนวคิด ไอเดีย กรรมวิธี หรือขั้นตอนการทำงาน อาจได้รับการการคุ้มครองจากกฎหมายสิทธิบัตรได้ แต่มีข้อกำหนดที่สำคัญคือ ซอฟต์แวร์ที่เราสร้างขึ้นนั้น ต้องมีการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ที่จับต้องได้ โดยเราจะเขียนสิทธิบัตรในฐานะของงานระบบ เช่น ระบบ smart home, ระบบควบคุมเครื่องจักร, ระบบบริหารจัดการการขนส่ง, ระบบป้องกันและรักษาความปลอดภัย, ระบบการมอร์นิเตอร์และแสดงผล, ระบบการซื้อขาย เป็นต้น ซึ่งจะให้ความคุ้มครองในส่วนของรูปแบบ ขั้นตอน วิธีการการควบคุม/สั่งการ หรือลักษณะการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์หรือโมดูลต่างๆในระบบ เป็นต้น (โดยไม่สนใจว่าจะเขียนโปรแกรม ด้วยภาษาอะไร)

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันกฎหมายสิทธิบัตรในไทยเอง ระบุไว้ว่า ไม่ให้ความคุ้มครองกับ “ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์” ดังนั้นงานประดิษฐ์ซอฟต์แวร์จึงต้องพิจารณาโดยละเอียดเป็นรายกรณีไป ในการจะจดเป็นสิทธิบัตร (โดยเฉพาะ งานซอฟต์แวร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่ไม่ชัดเจน) ซึ่งหากมีสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นซอฟต์แวร์ อาจจะต้องลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสอบถามหรือหาแนวทางในการคุ้มครองที่ดี และเหมาะสมที่สุด

ปรึกษาฟรี การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

รูปแบบการคุ้มครอง สิทธิบัตรงานระบบ

แผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ

ขั้นตอน สิทธิบัตรงานระบบ

เป็นการแสดงให้เห็นถึงลำดับการทำงาน คำสั่งต่างๆ ขั้นตอนการทำงาน ซึ่งสามารถอธิบายโดยการใช้แผนภาพ อาจมีการใส่เงื่อนไขของคำสั่งเข้าไปได้ตามการทำงานของระบบ โดยสามารถขอรับความคุ้มครองในระบบการทำงานดังกล่าว

รูปแบบการแสดงผลของงานประดิษฐ์

รูปแบบการแสดงผล สิทธิบัตร

เป็นการแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในรูปแบบการแสดงผล ซึ่งสามารถขอรับความคุ้มครองในรูปแบบของ UX/UI ได้

แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ในระบบ

แผนภาพ สิทธิบัตรงานระบบ

เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ อธิบายถึงลำดับการทำงานของอุปกรณ์ในระบบ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักร ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

สรุป

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้นก็ถือเป็นงานวรรณกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง จึงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้เราสามารถคุ้มครองซอฟต์แวร์เป็นงานสิทธิบัตรได้ หากซอฟต์แวร์เหล่านั้นอยู่ในรูปแบบระบบ หรือขั้นตอนวิธี หรืออัลกอริทึม (Algorithm) ที่ไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ หรือเครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ อาจขอรับความคุ้มครองเป็นสิทธิบัตรได้ หากระบบ ขั้นตอนวิธี หรืออัลกอริทึม (Algorithm) นั้นทำให้เกิดผลทางเทคนิค (Technical Effect)

ลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์

อ้างอิง