จดลิขสิทธิ์

ปกป้องงานสร้างสรรค์ ภาพ เพลง ด้วยการจดแจ้งลิขสิทธิ์

ATPSERVE ที่ปรึกษาด้านจดลิขสิทธิ์ พร้อมให้การบริการรับจดลิขสิทธิ์ทุกประเภท เพื่อให้การคุ้มครองงานสร้างสรรค์ทั้ง ภาพเขียน ภาพวาด เพลง ป้องกันการทำซ้ำ ดัดแปลง โดยมีทีมงานมืออาชีพดูแลตลอดขั้นตอน ที่ครอบคลุมทั้งการจดแจ้งลิขสิทธิ์ ไปจนถึงการรับปรึกษาเรื่องการจดลิขสิทธิ์จากทีมงานผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ลิขสิทธิ์คืออะไร

งานที่สามารถจดลิขสิทธิ์

บริการปกป้องงานสร้างสรรค์ ภาพเขียน ภาพวาด เพลง ด้วยการจดแจ้งลิขสิทธิ์

การจดลิขสิทธิ์ ความจริงแล้วไม่ใช่การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ เนื่องจากลิขสิทธิ์จะคุ้มครองทันทีนับจากวันที่สร้างสรรค์

โดยงานที่เข้าข่ายเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

ลิขสิทธิ์-ประเภท1

อันได้แก่งานเขียนต่าง ๆ ที่เราเขียนหรือประพันธ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ

ลิขสิทธิ์-ประเภท2

ได้แก่ การออกแบบท่าเต้น ท่ารำ รวมถึงการแสดงต่าง ๆ หรืองานละครใบ้ก็จัดเป็นงานนาฏกรรมประเภทหนึ่ง

ลิขสิทธิ์-ประเภท3

คืองานภาพเขียน ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ

ลิขสิทธิ์-ประเภท4

คืองานออกแบบทำนอง เนื้อร้อง

ลิขสิทธิ์-ประเภท5

ได้แก่ งานภาพ หรือภาพและเสียงที่ได้บันทึกลงบนวัสดุใด ซึ่งสามารถนำมาเล่นใหม่ได้ เช่น วิดิโอต่างๆ

ลิขสิทธิ์-ประเภท6

ได้แก่ งานบันทึกเสียงใดๆ ที่บันทึกลงบันวัสดุซึ่งสามารถนำกลับมาเล่นใหม่ได้

ลิขสิทธิ์-ประเภท7

เป็นงานคล้ายงานโสตทัศนวัสดุแต่ต้องฉายได้ อย่างภาพยนตร์

ลิขสิทธิ์-ประเภท8

ได้แก่ งานที่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดสด โดยมุ่งไปที่สิทธิของผู้ถ่ายทอดสดเป็น เช่นถ่ายทอดสดฟุตบอล

ลิขสิทธิ์-ประเภท9

แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะเป็นงานอื่นๆ ที่ไม่เข้าลักษณะอื่น

สิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ สูตร กรรมวิธี ถือว่า “ไม่” เข้าข่ายเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

 

งานประดิษฐ์ดังกล่าวถือว่าเป็นงานสิทธิบัตร เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองอย่างดี ควรได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรอย่างถูกต้องก่อนการเปิดเผยสู่สาธารณะ

สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์

สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์

  • ทำซ้ำ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถคัดลอก ทำสำเนา ได้ เช่น การถ่ายเอกสาร การ copy save เป็นต้น

  • ดัดแปลง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตัวเองได้ เช่น รูปการ์ตูนย์ สามารถออกแบบให้มีท่าทางต่างๆ หรือเปลี่ยนชุดแต่งกายได้ การดัดแปลงบทละคร หรือการนำการ์ตูนย์มาทำเป็นภาพยนตร์ เป็นต้น

  • เผยแพร่ต่อสาธารณะ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ที่จะนำงานลิขสิทธิ์ของตนเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ เช่น นำมาจัดแสดง การจำหน่าย การเปิดเพลงในที่สาธารณะ เป็นต้น

  • ให้เช่าต้นฉบับ ในงานประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถหาประโยชน์จากการให้สิทธิ์ผู้อื่นในช่วงเวลาหนึ่งแล้วเก็บเงินได้ เช่น การให้เช่าหนัง เพลง เป็นต้น

  • ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ยกประโยชน์อันเกิดจากค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้อื่นได้

  • อนุญาติให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ กรณีเจ้าของไม่ประสงค์หรือไม่สะดวกใช้งานลิขสิทธิ์ของตนเอง เจ้าของสามารถอนุญาติให้ผู้อื่นใช้งานลิขสิทธิ์ของตนได้ โดยอาจได้รับเป็นเงินค่าตอนแทน

ขั้นตอนการใช้บริการจดลิขสิทธิ์

ปรึกษาเรา เพื่อที่เราจะช่วยหาโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับคุณ

คำถามที่พบบ่อย

ลิขสิทธิ์ คืออะไร?

ลิขสิทธิ์ จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง โดยการสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องมีการแจ้งจดทะเบียนลิขสิทธิ์ก่อน

อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญามีบริการจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเพียง “การจดแจ้ง” เท่านั้น ไม่ได้แสดงว่าเราเป็นเจ้าของ เพียงแต่กรมฯ ได้รับทราบว่าเราได้สร้างสรรค์ขึ้นในวันที่เท่าไหร่ หากมีการพิสูจน์ขึ้นมาก็จะได้มีหลักฐานว่าเราได้สร้างสรรค์งานนี้

“Copyright (or author’s right) is a legal term used to describe the rights that creators have over their literary and artistic works. Works covered by copyright range from books, music, paintings, sculpture, and films, to computer programs, databases, advertisements, maps, and technical drawings.”
WIPO

หากท่านมีงานสร้างสรรค์ นวัตกรรมหรือข้อสงสัย สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับข้อมูลดังกล่าว

หรือเพิ่มเพื่อนเพื่อติดต่อเรา

เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญา” เราเชี่ยวชาญ