โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมเป็นกระบวนการในการนำผลิตภัณฑ์ (และบริการ) ใหม่ที่มีคุณค่าออกสู่ตลาดและถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่กำหนดความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) และ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดทั้งกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ เช่น การสร้าง competitive space หรือการผูกขาดความเป็นเจ้าของให้กับเจ้าของ IP (ท่านสามารถอ่านเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก)
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปคร่าว ๆ ว่ารูปแบบของการจัดการทรัพย์สินทางปัญญามีความจำเป็นอย่างไรในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
นวัตกรรมคืออะไร?
ทั่วไปเราจะเข้าใจกันว่านวัตกรรมเป็นกระบวนการพัฒนาแนวคิดใหม่ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์ ด้วยธุรกิจนวัตกรรมจะพยายามส่งมอบคุณค่าใหม่ให้กับลูกค้าเพื่อสร้างรายได้ / ผลกำไรให้ดีขึ้น เช่น
- การนำเสนอผลิตภัณฑ์ / บริการใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
- นำเสนอวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การปรับปรุงการใช้วัตถุดิบหรือการประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตใหม่หรือดีขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตได้เร็วขึ้นดีขึ้นหรือถูกกว่า
วงจรของนวัตกรรมสามารถแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน โดยคร่าวๆ แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนประกอบด้วย:
- การสร้างแนวความคิด (Idea)
- ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (R&D)
- การค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Commercialization)
- การตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Marketing)
โดยกิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละขั้นตอนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการพิจารณา IP ที่เหมาะสมจึงแตกต่างกันไปในแต่ละขั้นตอนด้วย
การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการสร้างสรรค์แนวความคิดใหม่ ๆ (Idea)
การสืบค้นและวิเคราะห์งานประดิษฐ์ก่อนหน้าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของขั้นตอนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหา (Patent Searching) และวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร (Patent Analysis) โดยการทบทวนวรรณกรรมก่อนหน้านี้ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าไอเดียมีความใหม่และสามารถสร้างสรรค์ได้หรือไม่ มีตลาดสำหรับแนวคิดนี้หรือไม่ และควรดำเนินการลงทุนกับแนวคิดนี้หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งและแนวโน้มของเทคโนโลยี
ในช่วงเริ่มต้นนี้มีความจำเป็นที่แนวคิดในเชิงนวัตกรรม ควรถูกเก็บไว้ในฐานะความลับทางการค้า (trade secret) เพราะแนวคิดที่ใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์ทั้งหมดไม่สามารถเป็นหรือจะจดสิทธิบัตรได้ ดังนั้นเพื่อให้มีคุณสมบัติในการเป็นความลับทางการค้า ข้อมูลจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญหลายประการรวมถึงการจัดการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลนั้นและจำกัดจำนวนคนเข้าถึงข้อมูล
ตัวอย่างความลับทางการค้า ได้แก่ ข้อมูลเช่นแผนธุรกิจ กระบวนการผลิตที่สำคัญ ข้อมูลทางการตลาดและข้อมูลลูกค้า
จะเห็นได้ชัดว่า การทำข้อตกลงการรักษาความลับกับนักประดิษฐ์ นักวิจัย (เช่นพนักงาน) หรือผู้ที่เราต้องเปิดเผยข้อมูล (เช่น ซัพพลายเออร์, ผู้ทำงานร่วมกัน หรือผู้รับเหมาช่วง เป็นต้น) เป็นสิ่งสำคัญในช่วงเริ่มต้นของขั้นแรกนี้
อย่างไรก็ตามความลับทางการค้านั้นมีข้อเสีย คือไม่ครอบคลุมการเปิดเผยนวัตกรรมที่เหมือนกันโดยบุคคลที่สามซึ่งคิดค้นขึ้นเองได้ (reverse engineer) โดยการเปิดเผยต่อสาธารณะอาจนำไปสู่การสูญเสียสิทธิ์ในการขอรับสิทธิบัตรและในกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือบุคคลที่สามอาจจดสิทธิบัตรแนวคิดนี้ก่อนหน้าคุณได้
ทั้งนี้การรักษาความลับทางการค้าเป็นงานที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่พนักงานเปลี่ยนบริษัทเป็นประจำ การตัดสินใจว่าจะปกป้องสิ่งประดิษฐ์ด้วยคำขอรับสิทธิบัตรหรือเก็บรักษาไว้เป็นความลับทางการค้าเป็นสิ่งสำคัญ
การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D)
การรักษาความลับทางการค้ายังคงมีความจำเป็นในชั้นตอนนี้ เช่นเดียวกับความจำเป็นในการสืบค้นและทบทวนวรรณกรรม ของงานประดิษฐ์ก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ในขั้นตอนนี้ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นควรได้รับการคุ้มครอง ในฐานะสิทธิบัตร (patent) โดยท่านสามารถอ่านเรื่อง สิทธิบัตร เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก
อย่างไรก็ตามเมื่อมีการยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว เราจะยังไม่สามารถฟ้องร้องได้ทันที โดยจะต้องเป็นไปตามกำหนดเวลาการตรวจสอบเพื่อให้คำขอรับสิทธิบัตร “รับจดทะเบียน” ดังนั้นจึงควรมีกลยุทธ์เกี่ยวกับเวลาการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรด้วย ซึ่งหากยื่นเร็วเกินไปอาจไม่มีเวลาสร้างข้อมูลการทดลองที่จำเป็นเพื่อสร้างความแตกต่างของงานประดิษฐ์ แต่หากล่าช้าเกินไป ก็จะเกิดความเสี่ยง คือคู่แข่งจะตัดหน้าคุณในการยื่นคำขอไปก่อน
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนายังเป็นขั้นตอนที่ควรดำเนินการสืบค้นความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิ์ เช่น อิสระในการดำเนินการ (Freedom-To-Operate) หรือการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ว่าจะหลีกเลี่ยงสิทธิบัตรของคนอื่นที่เสี่ยงต่อการละเมิดอย่างไร หรือสิทธิ์เหล่านั้นเราสามารถขออนุญาตใช้สิทธิหรือซื้อได้หรือไม่ หรืออาจคัดค้านงานเหมือนคล้ายเพื่อนำออกจากการจดทะเบียนสิทธิบัตรได้เช่นกัน ในขั้นตอนนี้
การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Commercialization)
การมีทรัพย์สินทางปัญญาที่หลากหลายที่คุ้มครองนวัตกรรมและความชัดเจนเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการได้รับเงินทุนจากนักลงทุนในขั้นตอนการทำการค้า ประกอบกับการประเมินมูลค่า IP ก็มีความสำคัญในส่วนนี้เช่นกัน
การเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ยังช่วยให้มั่นใจได้ว่านวัตกรรมจะไม่ “โดนขโมย” ในระหว่างการร่วมมือกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจต้องมีการเปิดเผยข้อมูลทางเทคนิคเพิ่มเติมเพื่อผลิตนวัตกรรมใช้งานในเชิงพาณิชย์
โดยอาจมีการขอสิทธิบัตรเพิ่มเติมในขั้นตอนนี้ เพื่อปกป้องนวัตกรรมที่มีการปรับปรุงตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการทำการตลาดผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Marketing)
ขั้นตอนสุดท้าย ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะคือ การจดเครื่องหมายการค้า เนื่องจาก เครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจดจำผลิตภัณฑ์ /บริการของบริษัทฯได้ และช่วยให้ลูกค้าแยกแยะผลิตภัณฑ์ของเราออกจากผลิตภัณฑ์ / บริการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันได้
สรุป
เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่มีโอกาสที่ดีกว่าในการเข้าถึงตลาด การใช้เครื่องมือ 3 อย่างในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ ความลับทางการค้า สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า เพื่อป้องกันการทับซ้อนกันในแต่ละขั้นตอนของวงจรการสร้างสรรค์นวัตกรรม ในขั้นต้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาความลับทางการค้า และเมื่ออยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา การจดสิทธิบัตรและการออกแบบมีความสำคัญในการปกป้องคุณสมบัติการทำงานและดีไซน์ของนวัตกรรม
การรับรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการ สามารถได้รับการคุ้มครองผ่านเครื่องหมายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากสิทธิบัตรหมดอายุ เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดเมื่อคู่แข่งเข้าสู่ตลาด
การจัดทางกลยุทธ์ในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบในกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถช่วยให้องค์กรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น ผ่านการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้
ATPSERVE – เรื่องสิทธิบัตรเราเชี่ยวชาญ ท่านสามารถปรึกษาหรือสอบถามบริการเพิ่มเติมได้ที่ บริการของ