ปลากัด เป็นปลาสวยงามที่มีการเลี้ยงกันมาในไทยอย่างช้านาน โดยมีหลักฐานการเลี้ยงย้อนไปได้ถึงสมัยธนบุรีเลยทีเดียว แถมปลากัดยังเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าถึง 115.45 ล้านบาทต่อปี การที่มีมูลค่าขนาดนี้แน่นอนว่าก็ต้องมีการปรับปรุงพันธุ์ปลากัดกันมาเรื่อยๆ เพื่อทำให้ปลากัดมีความสวยงามและความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็อาจเกิดคำถามกับผู้เพาะเลี้ยงปลากัดว่า สิทธิบัตรกรรมวิธีปรับปรุงพันธุ์ ทำได้หรือไม่ ถ้าหากเราเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีลักษณะที่แตกต่างจากที่มีอยู่เดิมได้แล้ว เราจะสามารถนำปลากัดนั้นไปจดสิทธิบัตรได้หรือไม่

สารบัญ

ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติในปี 2562 เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ และป้องกันไม่ให้ต่างชาตินำปลากัดไปจดสิทธิบัตรอ้างเป็นเจ้าของได้ นอกจากนี้ปลากัดยังได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย

แต่ถึงจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ แต่ปลากัดก็ไม่สามารถจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ (GI) เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังไม่สามารถนำปลากัดไปจดสิทธิบัตรได้ เนื่องจากตามพรบ.สิทธิบัตรแล้ว มาตรรา 9(1) ระบุใจความสำคัญว่า ไม่สามารถนำพืชหรือสัตว์มาจดสิทธิบัตรได้นั่นเอง

จดสิทธิบัตรปลากัดไม่ได้ แต่จด สิทธิบัตรกรรมวิธีปรับปรุงพันธุ์ ได้

ดังที่บอกไปแล้วว่าไม่สามารถจดสิทธิบัตรปลากัดโดยตรงได้ แต่ผู้เพาะพันธุ์ปลากัดสามารถจด สิทธิบัตรกรรมวิธีการปรับปรุงพันธุ์ ปลากัดได้ เนื่องจากเป็นการจดสิทธิบัตรแนวคิดหรือกรรมวิธี ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร

แต่ถึงจะสามารถยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ปลากัดได้ แต่จากการที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขพรบ.สิทธิบัตร โดยกำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ใช้ทรัพยากรพันธุกรรมจะต้องเปิดเผยแหล่งที่มา และแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรม เพื่อป้องกันการขโมยทรัพยากรพันธุกรรมไปใช้โดยมิชอบ

สรุป

ปลากัดถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญทั้งในด้านพันธุกรรมและด้านเศรษฐกิจของประเทศ และยังได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทำให้ต่างชาติไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในปลากัดไทยได้ แต่ผู้เพาะพันธุ์ปลากัดก็สามารถจด สิทธิบัตรกรรมวิธีปรับปรุงพันธุ์ ได้ แต่ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของพันธุกรรมและแบ่งผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของพันธุกรรมนั้นด้วยเช่นกัน

ปรึกษาฟรี การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

อ้างอิง